แมกนีเซียมและโรคไต

         เมื่อเราอายุมากขึ้น ไตของเราจะสูญเสียประสิทธิภาพในการควบคุมระดับแมกนีเซียม    การดูดซึมแมกนีเซียมจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น    เมื่ออายุประมาณ 70 ปี   เราจะดูดซึมแมกนีเซียมได้เพียง 2 ใน 3 ของตอนอายุประมาณ 30 ปี

         ไต เป็นที่ที่เลือดจะทิ้งสารอาหารส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการ หรือไม่สามารถจัดการได้ในขณะนั้นออกไป    การศึกษาผลของการขาดแมกนีเซียมต่อไต  ได้แสดงให้เห็นการสะสมของแคลเซียมในช่องว่างบริเวณคอร์ติโคเมดูลลารี (บริเวณรอยเชื่อมชั้นนอกและชั้นใน)  และความเสียหายต่อเยื่อบุผิวท่อไต    ความเสียหายต่อไตจากการขาดแมกนีเซียม  จะสร้างวงจรย้อนกลับเชิงลบ (negative feedback loop) ที่ทำให้การขาดแมกนีเซียมรุนแรงขึ้น

         การศึกษาด้วย Micropuncture แสดงให้เห็นว่า  การดูดซึมแมกนีเซียมกลับ ในท่อไต  ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่บริเวณที่อาจได้รับความเสียหายจากการขาดแมกนีเซียม   ซึ่งหมายความว่าภาวะเหล่านี้อาจทำให้เสียแมกนีเซียมในท่อไต

         เมื่อร่างกายได้รับแมกนีเซียม   แคลเซียมจะละลายได้มากขึ้น    ซึ่งเกิดขึ้นในเลือด, หัวใจ, สมอง, ไต และเนื้อเยื่อทั้งหมดในร่างกาย    หากคุณมีแมกนีเซียมไม่เพียงพอที่จะช่วยให้แคลเซียมละลายได้   คุณอาจจบลงด้วยการที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง  เนื่องจากแคลเซียมมากเกิน, ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia – เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ  ร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย, มีปัญหาด้านความจำและสมาธิ), การแข็งตัวของหลอดเลือดแดง และแม้กระทั่งฟันผุ

         หากมีแคลเซียมในไตมากเกินไป และมีแมกนีเซียมไม่เพียงพอที่จะละลายแคลเซียม      คุณอาจก็อาจเป็นนิ่วในไต    แมกนีเซียม เป็นตัวที่ควบคุมชะตากรรมของแคลเซียมในร่างกาย        หากแมกนีเซียมไม่เพียงพอ   แคลเซียมจะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อน (ไต, หลอดเลือดแดง, ข้อต่อ, สมอง ฯลฯ)    การบริโภคแคลเซียมมากเกินไป  อาจลดการดูดซึม และการใช้แมกนีเซียมของร่างกาย   และการบริโภคแคลเซียมที่มากเกินไป  ก็จะเพิ่มความต้องการแมกนีเซียมด้วย