รู้หรือไม่ ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพเทียบเท่ายา 14 ชนิด?

         

         บางทีคุณอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความสำเร็จของกัญชาในทางการแพทย์มาบ้าง   แต่คุณรู้หรือไม่ว่าสมุนไพรพื้นเมืองของอินเดียอย่าง ขมิ้นชัน นั้นมีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาถึง 14 ชนิด      คุณรู้หรือไม่ว่า สารสำคัญในขมิ้นชันอย่างโพลีฟีนอล (polyphenol), สารเคอร์คูมิน (curcumin)  สามารถใช้แทนยากลุ่ม statins, steroids, ยาเบาหวาน, ยาคีโม, และยาต้านการซึมเศร้าได้?

         ความลับของขมิ้นชันนั้นอยู่ที่การมีสารเคอร์คูมินอยู่ในปริมาณสูง  ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงที่ช่วยปกป้องยีนส์ของมนุษย์      มีการวิจัยกว่า 5,600 การวิจัยที่ยืนยันผลทางยาของขมิ้นชัน   ที่ใช้ในการรักษาที่แตกต่างกันกว่า 600 วิธี

ขมิ้นชัน ควรได้รับการผลิตและสั่งจ่ายเป็นยา

         ในหลายๆรัฐในสหรัฐอเมริกา  มีการสั่งจ่ายกัญชาทางการแพทย์เป็นจำนวนมากขึ้น   เนื่องจากแพทย์ได้เรียนรู้วิธีที่จะใช้พืชในการรักษาคนไข้แทนยาที่มีผลข้างเคียงสูง      พืชอีกชนิดหนึ่งที่ควรนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบ, มะเร็งบางชนิด, เบาหวานชนิดที่ 2, ภาวะหลอดเลือดแข็งกระด้าง และปัญหาสุขภาพอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ oxidative stress ก็คือ  ขมิ้นชัน  ซึ่งควรจะมีการปลูกและผลิตขึ้นมาเพื่อทำเป็นยาโดยเฉพาะ

         แต่ปัญหาหนึ่งที่พบในผลิตภัณฑ์ขมิ้นชันราคาถูกที่หาซื้อได้ทั่วไปก็คือ  มีการปนเปื้อนของสารพิษโลหะหนักสูง      ขมิ้นชันที่ควรนำมาใช้ในทางการแพทย์  ควรมีกรรมวิธีการผลิตที่สะอาด, ปลูกด้วยวิธีออร์กานิก ในพื้นดินที่สมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ  ไม่ใช่ดินที่เต็มไปด้วยรังสีและสารเคมี

         เนื่องจากสารเคอร์คูมิน เป็นสารละลายในไขมัน  จึงต้องใช้น้ำมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาเพิ่ม ชีวปริมาณออกฤทธิ์ หรือ ชีวประสิทธิผล (bio-availability) ของเคอร์คูมิน      หากไม่มีไขมัน/น้ำมัน   เคอร์คูมินอาจไม่ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งเป็นที่ที่จะไปออกฤทธิ์ได้      การดูดซึมของเคอร์คูมินจะเพิ่มขึ้นโดยการรับประทานคู่กับพริกไทยดำ ซึ่งมีสารพิเพอรีน (piperine)

         อ่านข่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับขมิ้นชัน และเคอร์คูมินได้ที่ Turmeric.news

ตัวอย่างยาที่สามารถทดแทนได้ด้วยขมิ้นชัน

         Lipitor/Atorvastatin (ยาไขมัน): กลุ่มยา Statins  เป็นยาที่ถูกสั่งจ่ายมากที่สุด      การวิจัยในปี 2008 ที่ตีพิมพ์ในสารสาร Drugs in R & D   พบว่าขมิ้นชันมีประสิทธิภาพเทียบเท่ายา atorvastatin (Lipitor) ในการปรับพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุให้เกิด oxidative stress ในหลอดเลือด ซึ่งก็คือ การทำงานของเซลล์บุผนังหลอดเลือดผิดไปจากปกติ (endothelial dysfunction)    โดยไม่ต้องพูดถึงว่า  ขมิ้นชัน ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงเหมือนยา statins   เช่น  ความผิดปกติในการทำงานของไมโตคอนเดรีย (mitochondrial dysfunction), กล้ามเนื้อลีบ (muscle wasting) และความผิดปกติของความสามารถของสมอง (cognitive impairment)

         Corticosteroids (ยาสเตรียรอยด์): แม้แต่อาการปวดเฉียบพลัน   ขมิ้นชันก็ยังสามารถลดอาการปวดได้อย่างเห็นผล      ในการวิจัยในปี 1999 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร  Phytotherapy Research พบว่า ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพเทียบเท่ายาสเตรียรอยด์ ในการรักษาโรคที่มีการอักเสบทางตาที่เรียกว่า chronic anterior uveitis (ม่านตาอักเสบหรือยูเวียส่วนหน้าอักเสบเรื้อรัง)      ในการวิจัยปี 2008 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Critical Care Medicine   พบว่าขมิ้นชันมีประสิทธิภาพควบคุมยีนส์อักเสบให้ทำงานน้อยลง  และสามารถใช้แทนยา  dexamethasone ในการรักษาการบาดเจ็บอันเกิดจากการปลูกถ่ายปอดด้วย

         Metformin (ยาเบาหวาน): กรรมพันธุ์  ไม่ใช่คำที่จะมาตัดสินปัญหาสุขภาพของเราได้      ในปี 2009  นักวิจัยพบว่า   เคอร์คูมิน กระตุ้น AMPK  ทำให้ร่างกายมีการใช้กลูโคสเพิ่มมากขึ้น        เคอร์คูมินยังกดการทำงานของยีนส์ที่สั่งการให้มีการสังเคราะห์น้ำตาลกลูโคส (suppresses gluconeogenic gene expression) ในเซลล์ตับ      เมื่อเคอร์คูมิน ถูกนำไปแยกออกได้เป็นสารประกอบ tetrahydrocurcuminoids (THC)   มันจะไปกระตุ้น AMPK และเอ็นไซม์ acetyl-CoA carboxylase ในร่างกาย   โดยมีประสิทธิภาพมากกว่ายาเบาหวานที่ใช้กันทั่วไป อย่าง metformin  500-100,000 เท่า

         Oxaliplatin (ยาคีโม): ในการวิจัยเมื่อปี  2007   ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Cancer   พบว่า เคอร์คูมิน มีประสิทธิภาพเทียบเท่ายา oxaliplatin ซึ่งเป็นยาคีโมที่หยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของกลุ่มเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ไลน์จากเซลล์มะเร็งลำไส้      ในปี 2004   การวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร the journal Oncogene   พบว่า  ส่วนผสมของเคอร์คูมิน และเรสเวอราทรอล มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาต้านการอักเสบในการลด tumor cells      ในปี 2007   การวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Alabama at Birmingham   ได้ค้นพบกลไกของเคอร์คูมินในการต้านมะเร็ง, ทำให้เซลล์มะเร็ง sensitive มากขึ้นต่อยารักษามะเร็ง (chemosensitization) และกลไกในการทำให้เซลล์มะเร็ง sensitive ต่อรังสีรักษามากขึ้น (radiosensitization effects)        เคอร์คูมิน ลดการทำงานของ MDM2 oncogene โดยผ่านกลไกของ PI3K/mTOR/ETS2 ในกลุ่มเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ไลน์จากเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก

 

         Prozac/Fluoxetine (ยาต้านการซึมเศร้า): การศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2011 ในวารสาร Acta Poloniae Pharmaceutica  พบว่า เคอร์คูมินสามารถลดพฤติกรรมซึมเศร้าในสัตว์ทดลองได้      การวิจัยในปี 2015  พบผลการทดลองที่อาจนำมาใช้รักษาโรคซึมเศร้าในมนุษย์ได้      เคอร์คูมินผสมพริกไทยดำ  สามารถลดอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ   และได้ผลมากในผู้ป่วยวัยกลางคนที่รับประทานนาน ในขนาดโดสสูง

 

         Reversing liver disease (โรคตับที่กลับหายได้): เคอร์คูมิน มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ และต้านอักเสบสูง    สามารถรักษาโรคตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ให้หายได้      ในการทดลองในสัตว์ทดลอง  พบว่าสารประกอบ เคอร์คูมิน-galactomannosides   สามารถทำให้ค่าตับที่ผิดปกติที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์  ให้กลับสู่ปกติได้  รวมทั้ง  ค่าความเป็นพิษของตับที่สูงขึ้น, ค่าการอักเสบ และกระบวนการ ลิพิดเปอร์ออกซิเดชัน และค่าสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่ลดลง

         เคอร์คูมินใช้ได้ผล  ในขณะยาคีโมล้มเหลว: การวิจัยในปี 2010 ที่ตีพิมพ์ใน TNO Nutrition and Food Research   พบว่า เคอร์คูมินมีศักยภาพในการรักษากลุ่มเซลล์มะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อยาคีโม      โปรตีนที่ดื้อยาหลายชนิด 2 ตัว คือ  MRP1 และ MRP2  ถูกยับยั้งโดยเคอร์คูมิน     และการวิจัยใน University of Belgrade ในสาธารณรัฐเซอร์เบีย  พบว่า เคอร์คูมินในขนาดโดสสูง  ยับยั้งการดื้อยาในกลุ่มเซลล์มะเร็งปอด    และพบว่า เคอร์คูมินผสมกับยา Sulfinosine มีการเสริมฤทธิ์กันในการฆ่าเซลล์

         สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาจากพืช   อ่านเพิ่มเติมที่  Herbs.News.

ข้อมูลเพิ่มเติม:

WakingTimes.com

NaturalNews.com

NaturalSociety.com

NCBI.NLM.NIH.gov

NaturalNews.com

GreenMedInfo.com

GreenMedInfo.com

NCBI.NLM.NIH.gov

GreenMedInfo.com

GreenMedInfo.com

Natural.News