เมลาโทนินกับการนอนหลับ

“โรคนอนไม่หลับ” เป็นโรคที่เกี่ยวกับการนอนหลับผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุด   โดยพบใน 30 – 45% ของคนปกติ      โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 1.5 เท่า

         โรคนอนไม่หลับ เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีการนอนหลับไม่เพียงพอ  จากการที่ผู้ป่วยหลับยาก, ตื่นขึ้นกลางดึกบ่อย, ตื่นเช้ามาก หรือไม่รู้สึกสดชื่นหลังตื่นนอน หรือคุณภาพการนอนต่ำ      ซึ่งทำให้มีผลต่อกิจกรรม หรือการทำหน้าที่ต่างๆในระหว่างวัน 

         จากข้อมูลทางคลีนิคพบว่า   การมีคุณภาพการนอนต่ำ  มีผลเสียต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตมากกว่าปริมาณในการนอน

         ประมาณว่าโรคนอนไม่หลับในระยะแรก (หมายถึง โรคนอนไม่หลับที่ไม่มีสาเหตุจากโรคหรือภาวะอื่นๆ) เกิดขึ้นใน 1-10% ของประชากรทั่วไป   และเพิ่มเป็นพบใน 25% ของผู้สูงอายุ

         อาการของโรคนอนไม่หลับในระยะแรก คือ  หลับยาก และ/หรือ มีคุณภาพการนอนต่ำ  รวมทั้งส่งผลเสียต่อกิจกรรมการทำงานในวันต่อมา

         จากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่า โรคนอนไม่หลับส่งผลให้เกิดความผิดปกติของความสามารถของสมอง และร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆช้าลง, การทรงตัวของร่างกาย และความจำแย่ลง      ซึ่งผลเสียต่างๆนี้เป็นที่น่าเป็นห่วงยิ่งขึ้นในผู้สูงอายุ  เนื่องจากผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่ความสามารถของสมองจะลดลงอยู่แล้วจากวัยที่มากขึ้น

 

 

Melatonin (เมลาโทนิน) – สัญญาณแห่งความมืด และตัวบ่งชี้ของนาฬิกาชีวภาพ (circadian rhythms)


         เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่จะช่วยให้เรานอนหลับ และมีผลต่อวงจรการนอนหลับของทั้งมนุษย์และสัตว์      เมลาโทนิน ผลิตจากต่อมไพเนียล (pineal gland) ในสมอง ในตอนกลางคืน      ในภาวะปกติ เมื่อจอประสาทตา ตรวจพบว่าแสงลดลง  จะค่อยๆมีการผลิตเมลาโทนินเพิ่มขึ้น  จนถึงระดับสูงสุดในช่วงกลางดึก

          circadian rhythm หรือนาฬิกาชีวภาพ จะได้รับอิทธิพลจากเมลาโตนิน ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็น "ตัวจัดลำดับเวลา" สำหรับการนอนหลับ      และเป็นตัวควบคุมวงจรการนอนหลับ

         เมลาโตนิน ไม่ใช่ยากล่อมประสาท  แต่เป็นสัญญาณแห่งความมืด หรือเวลากลางคืน      ในตอนเช้า เมื่อระดับเมลาโทนินในพลาสมาลดลง   การนอนหลับก็จะสิ้นสุดลง และเราก็จะเริ่มรู้สึกตัว

         ในมนุษย์, เมลาโทนิน จะทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย, ลดการตื่นตัว และกิจกรรมทางสมอง และเลื่อนการผลิต cortisol (ซึ่งฮอร์โมนความเครียด ทำให้ระดับความดันและน้ำตาลขึ้น) ออกไป  เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการนอนหลับ

         จำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติด้านการนอนเพราะอายุมากขึ้น   จะสอดคล้องกันกับระดับเมลาโทนินที่ลดลงจากอายุที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน