PITUPATHIE (พิทูปาตี) 75 เม็ด

รหัสสินค้า : 0009

ราคา

6,750.00 ฿

จำนวนที่จะซื้อ
ราคารวม 6,750.00 ฿

สินค้าไม่เพียงพอ

สินค้าหมด

ต่อมใต้สมอง เป็นอวัยวะที่มีขนาดเล็กมาก โดยมีขนาดเท่าเมล็ดถั่ว อยู่ติดกับส่วนล่างของสมอง  ทำหน้าที่ที่สำคัญ คือ ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ซึ่งจะถูกส่งไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อทำให้เกิดกระบวนการบางอย่าง หรือเพื่อไปกระตุ้นต่อมอื่นๆให้ผลิตฮอร์โมนชนิดอื่นๆขึ้น

      ต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่ผลิต หรือเป็นที่เก็บของฮอร์โมนหลากหลายชนิด  ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า คือ

   

  • ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) - ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างน้ำนม หลังคุณแม่คลอดบุตร  และยังมีผลต่อระดับฮอร์โมนเพศที่สร้างจากรังไข่ในเพศหญิง และฮอร์โมนเพศที่สร้างจากอัณฑะในเพศชาย  รวมถึงมีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์
  • โกรทฮอร์โมน (Growth hormone - GH) - กระตุ้นการเจริญเติบโตในช่วงวัยเด็ก และมีความสำคัญต่อการรักษาสัดส่วนโครงสร้างของร่างกายให้สมดุลย์ รวมทั้งสุขภาพโดยรวม  ในผู้ใหญ่ GH มีความสำคัญในการรักษามวลกล้ามเนื้อ และมวลกระดูก  และยังมีผลต่อการกระจายตัวของไขมันในร่างกาย
  •  * แอดรีโนคอร์ติโคทรอพิกฮอร์โมน Adrenocorticotropin (ACTH) - กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) จากต่อมหมวกไต (adrenal glands) —เป็นต่อมไร้ท่อที่ตั้งอยู่เหนือไตทั้งสองข้าง  ฮอร์โมนคอร์ติซอล เป็นฮอร์โมนกลุ่ม steroid ที่ช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียด ("stress hormone") และยังมีบทบาทเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย  ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับการอักเสบ กระตุ้นตับให้สร้างน้ำตาลออกมาสู่กระแสเลือด และช่วยควบคุมปริมาณสารน้ำภายในร่างกาย เพื่อช่วยรักษาระดับความดันเลือด   เมื่อเราอยู่ในสภาวะตึงเครียด โดยเฉพาะหลังการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล ออกมาในปริมาณมาก 
  • ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ Thyroid-stimulating hormone (TSH) -ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบเผาผลาญ, ควบคุมความสมดุลย์ของพลังงานร่างกาย, ควบคุมการเจริญเติบโต และการทำงานของระบบประสาท
  • ลูทิไนซิงฮอร์โมน Luteinizing hormone (LH) - ทำหน้าที่กระตุ้นบริเวณอัณฑะในเพศชายให้สร้างฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน และกระตุ้นรังไข่ในเพศหญิงให้เกิดการตกไข่ ซึ่งหากไม่มีฮอร์โมนดังกล่าวมนุษย์จะไม่สามารถสืบพันธ์ุได้
  • ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ Follicle-stimulating hormone (FSH) - กระตุ้นการสร้างสเปิร์มในเพศชาย และกระตุ้นรังไข่ให้ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และกระตุ้นการสร้างไข่ในเพศหญิง   ฮอร์โมน LH และ FSH ทำงานร่วมกันในการควบคุมการทำงานของรังไข่ และอัณฑะ

   ฮอร์โมนที่ถูกเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior (back part) of the pituitary gland) ได้แก่

  • *  แอนติไดยูเรติก ฮอร์โมน Antidiuretic hormone (ADH) - หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวาโซเพรสซิน   vasopressin ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลย์ของน้ำในร่างกาย   โดยกระตุ้นให้ไตดูดซึมน้ำกลับไว้ในร่างกาย เป็นผลให้ปัสสาวะมีน้อยลง
  • ออกซิโทซิน Oxytocin  ทำหน้าที่ให้เกิดการเร่งคลอดในหญิงตั้งครรภ์ ทำให้กระบวนการคลอดเป็นไปได้ง่าย อีกทั้งยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนมของมารดาอีกด้วย

วิธีรับประทาน


อมใต้ลิ้น ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง