อันตรายจากการรับประทานแคลเซียมเม็ดเสริม

         Osteoporosis (โรคกระดูกพรุน) – ซึ่งทำให้กระดูกมีรูพรุน และเปราะ  และนำไปสู่การมีสุขภาพทรุดโทรม  กระดูกหักได้  ซึ่งเป็นภาวะคุกคามสุภาพสตรี เมื่ออายุมากขึ้น      ผู้เชี่ยวชาญได้ประมาณการณ์ว่า  ภาวะกระดูกพรุนจะเป็นสาเหตุให้สตรีที่อายุเกิน 50 ปี 1 ใน 2 คน  จะต้องเกิดกระดูกหักสักที่ใดที่หนึ่ง  ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต      ปัจจุบัน มีคำแนะนำให้รับประทานแคลเซียมเม็ดเสริม เพื่อช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุน   โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ

         แต่ปัญหาก็คือ : มีการวิจัยมากมาย ที่พบว่าการรับประทานแคลเซียมเสริม  สามารถ เพิ่ม ความเสี่ยงของโรค coronary artery disease (โรคหลอดเลือดหัวใจ)  และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจวายเป็น 2 เท่า

         แน่นอน  การค้นพบในการวิจัยนี้  ย่อมก่อให้เกิดความไม่พอใจ ในบริษัทที่จำหน่ายอาหารเสริมขึ้นได้    และในขณะที่การบริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมต่ำ  จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดทั้งโรคหัวใจ และกระดูกพรุน  แล้วการรับประทานแคลเซียมเม็ดเสริม  จะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้อย่างไร

สมดุลย์ของแคลเซียม และเกลือแร่อื่นๆ  จำเป็นต่ออัตราการเต้นของหัวใจที่สมบูรณ์แข็งแรง

         ในการที่หัวใจจะเต้นอย่างมีประสิทธิภาพนั้น    เกลือแร่ที่จำเป็น  เช่น โปแตสเซียม, แมกนีเซียม และแคลเซียม จะต้องทำงานสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างกับวงดนตรี

         แคลเซียม  จำเป็นสำหรับการรักษาจังหวะการบีบตัวของหัวใจ และการไหลเวียนเลือด  เป็นสิ่งที่สำคัญต่อสุขภาพของหัวใจอย่างมาก      ที่จริงแล้ว  เมื่อระดับของแคลเซียมลดต่ำเกินไป  อาจส่งผลต่อสุขภาพจนถึงแก่ชีวิตได้

         ร่างกายพยายามที่จะป้องกันไม่ให้ระดับของแคลเซียมต่ำเกินไป  โดยการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ออกมา – ซึ่งส่งผลให้มีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูก     ทำให้มีแคลเซียมปริมาณมากไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด

         ผลคือ  ผนังหลอดเลือดมีแคลเซียมมาเกาะ (เรียกกระบวนการนี้ว่า calcification)  นำไปสู่การเกิด atherosclerotic plaque (ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น  จนเกิดหลอดเลือดแข็ง)    ในที่สุดก็เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis)  ซึ่งจะนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด  และเพิ่มความเสี่ยงของ โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

         เห็นได้ชัดว่า  การมีระดับแคลเซียมต่ำ สามารถเป็นสาเหตุของโรคหัวใจได้ – ที่จริง  จากการวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ   จะเพิ่มอัตราในการเกิด calcification (การมีแคลเซียมเกาะ หรือ การมีหินปูนเกาะ) ได้ถึง 170 %

         อย่างไรก็ตาม   การแก้ปัญหา  ไม่ใช่ทำง่ายๆแค่การรับประทานแคลเซียมเสริม

         ในการวิจัย  ที่ทดสอบในคนยุโรปจำนวนเกือบ 24,000 คน และตีพิมพ์ในวารสาร Heart ในเดือนพฤษภาคม  2012  พบว่า  การรับประทานแคลเซียมเสริม ดูเหมือนจะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  และพบว่าเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

         นักวิจัยได้เตือนว่า  การรับประทานแคลเซียมเสริม ควรทำอย่าง "ระมัดระวัง"      แน่นอน  การกล่าวเช่นนี้ ย่อมทำให้วงการแพทย์เกิดการวิพากย์วิจารณ์ และขัดแย้งกันมากมาย

         ในปี 2013    หนึ่งปีหลังจากที่การวิจัยนั้นถูกตีพิมพ์       the United States Preventive Services Task Force (คณะทำงานพิเศษเพื่อการป้องกันโรค) ได้แนะนำว่า  สตรีวัยหมดประจำเดือนที่ ไม่มี ภาวะกระดูกพรุน ให้หยุดการรับประทานแคลเซียมเสริมทั้งหมด

วิตามินเค2 และแมกนีเซียม อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  อันเป็นผลมาจากการรับประทานแคลเซียมเสริม

         การวิจัยเมื่อเร็วๆนี้  แนะนำว่า วิตามินเค2  สามารถช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง  ในขณะเดียวกัน  ช่วยปกป้องการเกิด calcification (atherosclerosis) ของผนังเส้นเลือดอีกด้วย      วิตามินเค2 หรือ menaquinone  ทำงานโดยกระตุ้นสารประกอบตามธรรมชาติที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียม– รวมถึงโปรตีน GIa ด้วย (เป็น calcium blocker) และ โปรตีน osteocalcin ซึ่งช่วยให้แคลเซียมยึดเกาะกันภายในกระดูก

         ประสิทธิภาพของวิตามินเค2 ในสองเรื่องที่กล่าวมานี้  มีผลการวิจัยยืนยัน      ที่จริงแล้ว  ตามการวิจัยระบุว่า  ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีวิตามินเค2 สูง   มีความเสี่ยงในการตายจากโรคหัวใจลดลง 57%

         และในการวิจัยหนึ่ง  พบว่า สตรีที่รับประทานวิตามินเค2 เสริม   มีการแตกหักของกระดูกที่ไม่ใช่กระดูกสันหลัง  ลดลงถึง 83 %  ซึ่งเป็นผลที่น่าทึ่งมาก

ปัญหาสุขภาพจากการขาดแมกนีเซียม

         แมกนีเซียม สำคัญในการรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจ และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจให้เป็นปกติ    ช่วยในการส่งผ่านแคลเซียมและโปแตสเซียมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์      และยังเป็น calcium channel blocker ตามธรรมชาติ ที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดคราบพลาคในหลอดเลือดอีกด้วย

         การการศึกษาวิจัยพบว่า  การมีระดับแมกนีเซียมต่ำ และมีระดับแคลเซียมเกิน    สามารถเร่งให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้เร็วขึ้น  จนนำไปสู่ภาวะหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้

         ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า   การมีระดับแมกนีเซียมในดินที่ลดลง   ส่งผลให้เกิดการขาดแมกนีเซียมในมนุษย์      ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร, การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และยาบางชนิด  ก็มีผลต่อระดับแมกนีเซียมเช่นกัน

         วิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด ในการที่จะให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ  คือ รับประทานจากอาหาร และน้ำ  ไม่ใช่จากแคลเซียมเม็ด

         ควรรับประทานอาหารที่มีทั้งแคลเซียมและแมกนีเซียมอยู่ด้วยกัน   เพื่อเพิ่มการดูดซึมของแคลเซียม   ตัวอย่างเช่น ผักใบเขียวเข้ม ,เมล็ดอัลมอนด์, เมล็ดฟักทอง, ปลาซาร์ดีนกระป๋อง (ที่มีก้างด้วย) และปลาแซลมอนที่จับตามธรรมชาติ

         คุณอาจทำการตรวจเช็คด้วยเครื่อง Oligoscan ก่อนที่จะซื้อเกลือแร่ชนิดเม็ดใดๆมารับประทานเสริม  เพื่อให้แน่ใจว่า  คุณเสริมเกลือแร่ได้ถูกตามความต้องการของร่างกาย

หมายเหตุ: ปริมาณที่แนะให้รับประทานต่อวัน สำหรับแมกนีเซียม คือ 420 มก. ในผู้ชาย  และ 320 มก. ในผู้หญิง      สำหรับวิตามินเค2   สามารถรับประทานจาก organic (Non-GMO) นัตโตะ (natto) หรือถั่วเน่าญี่ปุ่น, ไข่แดง, egg yolks, ชีสที่ผลิตจากนมวัวที่มีการเลี้ยงด้วยหญ้า และตับห่าน

         ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ  อาจแนะนำให้เสริมด้วยวิตามินเค 200 mcg/วัน

         "จากการวิจัย  ได้สรุปเป็นข้อแนะนำว่า   การรับประทานแคลเซียมเม็ดเสริมเพียงอย่างเดียว  สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้     การรับประทานวิตามินเค2 และแมกนีเซียมร่วมด้วย  จะช่วยลดความเสี่ยงนั้นได้   และยังทำงานร่วมกันในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง และป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งอีกด้วย"