ชีวิต - ความชราและโฟตอน

เพิ่มเพื่อน

ONDAMED International Teleconference February 18, 2009
and
17th Annual World Congress on Anti-Aging Medicine
23-25 April 2009, Gaylord Palms Hotel and Convention Center
Orlando, Florida, USA

 

 

ชีวิต - ความชราและโฟตอน

         ไม่ต้องสงสัยอีกต่อไปว่า  สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่เฉพาะ  มีพลังในการรักษามหาศาล     ดังที่เห็นในการรักษาโรคกระดูกพรุน      นักบำบัดโรคด้านสุขภาพทั่วโลกต่างสงสัยว่าอะไร คือหลักการที่อยู่เบื้องหลังพลังในการรักษานี้


ชีวิตคืออะไร?


         ในด้านฟิสิกส์   ชีวิต คือการต่อสู้กับเอนโทรปี (Entropy)       เอนโทรปี คือปริมาณที่บอกถึงความไม่เป็นระเบียบของระบบ   ยิ่งระบบมีความไม่เป็นระเบียบสูง เอนโทรปีก็จะยิ่งมีค่าสูง   แต่ถ้าระบบมีความไม่เป็นระเบียบน้อย เอนโทรปีก็จะยิ่งมีค่าต่ำ       เนื่องจากระบบของสิ่งมีชีวิตกำลังสูญเสียความร้อน และความเป็นระเบียบอย่างต่อเนื่อง   จึงต้องได้รับพลังงานอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาให้ระบบมีความเป็นระเบียบมากขึ้น    มันคือการหนีออกจากความสับสนวุ่นวาย และการต่อต้านการสูญเสียความร้อนออกจากระบบร่างกาย  ซึ่งทำให้นึกถึง Erwin  Schroedinger (เออร์วิน
ชโรดิงเกอร์)    บิดาแห่งกลศาสตร์ควอนตัม  และผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปีพ. ศ. 2476:

         “เคล็ดลับของสิ่งมีชีวิตในการรักษาระดับความเป็นระเบียบให้อยู่ในระดับสูงคือ  การดึงความเป็นระเบียบจากสิ่งแวดล้อม   ซึ่ง - ในระดับหนึ่ง - ทำโดยโภชนาการ"       อย่างไรก็ตาม   Schroedinger ระบุว่า  การดูดซับแสงของสิ่งมีชีวิตต่างหาก  ที่สร้างโครงสร้าง และรักษาความเป็นระเบียบไว้อย่างเชื่อมโยงกัน

         เมื่อโฟตอนถูกดึงเข้าไปและดูดซับโดยโมเลกุลของดีเอ็นเอ  มันจะคล้ายๆถูก “ติดกาว” ไว้ด้วยกัน       เนื่องจากโฟตอนเป็นปริมาณของแสง  ซึ่งจะมีค่าแสงเข้มข้นขึ้น และสอดคล้องขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อถูกดึงเข้าไปใน DNA       กลไกการสะสมโฟตอนในดีเอ็นเอจะขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์เรโซแนนซ์ (Resonance)        Fritz Popp, ศาสตราจารย์ด้านชีวฟิสิกส์ระดับโลกกล่าวว่า  โฟตอนจะถูกดึงดูดโดยกลุ่มโฟตอนอื่น ๆ ใน DNA ถ้าสเปกตรัมแสงตรงกัน     กระบวนการนี้เรียกว่า Bose-Einstein Condensation (โบส์ไอส์ไตรน์ คอนเดนเซชั่น - BEC) และเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของธรรมชาติ  ในการเพิ่มพลังงานเพื่อต่อสู้กับการสลายตัว และความตาย
         ดีเอ็นเอเก็บแสงนี้ไว้ภายในโดยทำให้มันสะท้อน (resonate) อยู่ภายในโครงสร้างของมัน โครงสร้างของดีเอ็นเอประกอบด้วยสองส่วน คือ  ดีเอ็นเอ และฮิสโตน (histones)     ดีเอ็นเอถูกห่อหุ้มด้วยโปรตีนอื่น ๆ ที่เรียกว่า "ฮิสโตน"  ซึ่งเป็นโครงสร้างของเสียงสะท้อน (resonance)       DNA ขดอยู่รอบ ๆ โปรตีนฮิสโตน  และสร้างโพรงที่ก้องกังวาน

         มันเก็บโฟตอนคุณภาพสูงไว้   พร้อมที่จะกระตุ้นโครงสร้าง และโมเลกุลอื่น ๆ ที่ต้องการพลังงาน       การกระตุ้นเกิดจากโฟตอนคุณภาพสูงที่มีสเปกตรัมเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละโครงสร้าง       สำหรับการซ่อมแซมเซลล์นั้น   โมเลกุล / อะตอม และโครงสร้างจะต้องถูกกระตุ้น โมเลกุลที่ถูกกระตุ้นเท่านั้นที่สามารถโต้ตอบกับโมเลกุลอื่นได้  

         โฟตอนที่มีธรรมชาติเหมือนกัน  ค่อนข้างจะ "ติดกาว" เข้าด้วยกัน      เป็นที่ทราบกันดีว่าแสงแดดมีพื้นที่เชื่อมโยงกันเทียบเท่ากับพื้นผิวของเซลล์ (0.0019 mm2) van-Cittert-Zernike  และภายในบริเวณนั้น   แสงแดดสามารถสร้างโครงสร้างขึ้นได้

         เพื่อให้แสงทำงานเป็นพลังชีวิต  จะมีสองปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน คือ : ความสามารถในการกักเก็บ/สะสมแสงแดดใน “โครงสร้างเรโซแนนซ์” (DNA) และความสอดคล้องกันของแสง       แสงที่สอดคล้องกันดังกล่าว  แตกต่างจากแสงปกติ     มันจะอยู่ในโครงสร้างของเซลล์เป็นเวลาหลายชั่วโมง และมีความจำเพาะอย่างมากกับโครงสร้างเซลล์อื่น ๆ    มันมีความสอดคล้องสูงกว่าเลเซอร์ที่ดีที่สุดที่มนุษย์ผลิตขึ้น ซึ่งจะสลายไปใน 10-2 วินาที ถึง 10 เท่า       เราอาจพูดได้ว่า DNA คือแบตเตอรี่แสงเลเซอร์ที่ชาร์จไฟไว้ในระดับสูง

         Popp และ Li พิสูจน์ให้เห็นถึงความสอดคล้องกัน (ของแสงระดับคุณภาพของเลเซอร์) โดยแสดงเวลาการสลายตัวของแสงที่ปล่อยออกจากเซลล์ ซึ่งกินเวลานานกว่าปกติมาก

         โฟตอนที่มีความสอดคล้องกันสูง ด้วยคุณภาพระดับแสงเลเซอร์ที่เก็บไว้นี้   มีการทำงานหลากหลายวิธี  คือ :
         โฟตอนกระตุ้นดีเอ็นเอเบส  เช่น อะดีนิน     โมโนเมอร์นี้สามารถปล่อยโฟตอนและถอยกลับสู่สถานะที่ยังไม่ถูกกระตุ้น  หรืออาจส่งผ่านโฟตอนไปยังโมโนเมอร์ที่อยู่ใกล้เคียง      การกระตุ้นโมเลกุลของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง   ทำให้กรดอะมิโนทั้งสองดึงดูดซึ่งกันและกัน   เกิดเป็น Exciplexe (สารประกอบเชิงซ้อนที่ถูกกระตุ้น)       แรงดึงดูดที่เกิดขึ้นทำให้ดีเอ็นเอขดเป็นเกลียว     ดีเอ็นเอมีความเสถียรและมีขนาดย่อลง       การเกิดเช่นนี้คือ  สถานะที่สูงขึ้นของพลังงาน       จากนั้นปรากฏการณ์เรโซแนนซ์สเปกตรัมนี้  จะมีหน้าที่ในการส่งผ่านโฟตอนที่มีความสอดคล้องกันเหล่านี้ไปยังโครงสร้างอื่น ๆ อีกครั้ง  หากมีการขาดพลังงาน

         Popp แสดงให้เห็นว่า  เนื้อเยื่อที่มีอาการปวดจะปล่อยแสงน้อยลง    สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า  ความเจ็บปวดคือ  สภาวะที่ขาดพลังงาน    ขาดโฟตอนที่มีความสอดคล้องกัน       ในกรณีนี้  การบำบัดที่เหมาะสม คือ :
         การเพิ่มโฟตอนที่มีความสอดคล้องกันในดีเอ็นเอ และโครงสร้างเซลล์อื่น ๆ       เนื่องจากการซ่อมแซมเซลล์  จะต้องใช้สเปกตรัมที่มีความเฉพาะเจาะจงสูง   จึงจำเป็นต้องใช้ระบบอัจฉริยะซึ่งจะกระตุ้น / ผลิตโฟตอนที่มีพลังงานในสเปกตรัมที่เหมาะสมกับแต่ละเนื้อเยื่อ

 

         ซึ่งทำได้โดย nuclear magnetic resonance (NMR)    โดยการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เฉพาะเจาะจงเข้าไปในเนื้อเยื่อที่เกิดความเสื่อมความชรา

17th Annual World Congress on Anti-Aging Medicine
23-25 April 2009, Gaylord Palms Hotel and Convention Center
Orlando, Florida, USA

สนามแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นความถี่เฉพาะ     นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์
เคล็ดลับในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ, การรักษาและต่อต้านริ้วรอย

โดย Wolf-Dieter Kessler MD, PhD

         ส่วนแรกของการนำเสนอนี้  จะอธิบายถึงกฎทางฟิสิกส์ว่า  ทำไมอิเล็กตรอนในเนื้อเยื่อของเราปล่อยโฟตอนออกมาเมื่อถูกกระตุ้นโดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอกที่เฉพาะเจาะจง      ส่วนที่สองจะเน้นไปที่โฟตอน  ซึ่งเป็นพลังชีวิตของเรา

         อะตอมของไฮโดรเจน  ประกอบด้วย โปรตอนหนึ่งตัวและอิเล็กตรอนหนึ่งตัวที่กำลังหมุนอยู่ อนุภาคทั้งสองมีการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแม่เหล็กด้านใน  ซึ่งสร้างสนามแม่เหล็กขนาดเล็กด้านนอกรอบๆตัว

         หลักการลาร์มอร์ (Sir Joseph Larmor, 1857-1942, นักฟิสิกส์ และนักคณิตศาสตร์ชาวไอริช) :

         เมื่อสนามแม่เหล็กขนาดเล็กเหล่านี้ (โมเมนต์แม่เหล็ก) สัมผัสกับ หรือถูกวางไว้ในสนามแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก    พวกมันจะถูกเร่ง และเริ่มต้นหมุนรอบแกนของสนามนั้น     เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "precessing (การหมุนควง)"     พวกมันจะหมุนควงรอบแกนนั้นเหมือนลูกข่าง โมเมนต์แม่เหล็กที่ถูกเร่งของอะตอมไฮโดรเจน  ใช้พลังงานจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอื่น ๆ     พวกมันจะดึงพลังงานมาใช้ได้มากที่สุด  ถ้าความถี่ของสนามแม่เหล็กอื่นตรงกับความถี่ลาร์มอร์ (Larmor' Frequency) ของอะตอมไฮโดรเจน     จากนั้นพวกมันจะสะท้อน (resonating)ได้อย่างเต็มที่       หลักการนี้ได้ใช้กับ MRI มาตั้งแต่ปี 1970

         โมเมนต์แม่เหล็กของอะตอมของไฮโดรเจนจะเรียงตัว และหมุนควงรอบแกนสนามภายนอกตามยาวและตามขวาง

         พวกมันหมุนควงด้วยความถี่เฉพาะรอบสนามภายนอก (ความถี่ลาร์มอร์) ซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างเนื้อเยื่อที่ต่างกัน     ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อแต่ละส่วนมีความแตกต่างกัน   ดังนั้น  ความถี่ในการหมุนของอะตอมของไฮโดรเจนจึงช้าลงเล็กน้อย  เนื่องจากถูกรบกวนจากอะตอมอื่น

         ยิ่งความถี่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก  ตรงกับความถี่ Larmor ของการหมุนของไฮโดรเจนมากเท่าไหร่   ก็ยิ่งมีการ resonating และเพิ่มขึ้น และได้รับพลังงานมากขึ้น       นี่ก็เหมือนกับการแกว่งชิงช้า  เมื่อได้รับแรงผลักมากขึ้น  ซึ่งแรงผลักเหล่านี้ต้องตรงกับความถี่ของวงสวิง

         เนื่องจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก  มีการเต้นเป็นจังหวะ..เปิดและปิด  ทั้งตามยาว และตามขวางของการหมุนของไฮโดรเจนจะยุบตัวลง (ผ่อนคลาย) ไปที่จุดเดิม  เมื่อสนามถูกปิด เนื่องจากการสปินของไฮโดรเจนที่เรียงตัวตามยาว  มีพลังงานต่ำกว่าที่อยู่ในแนวขวาง
การปิดสวิตซ์  จึงทำให้มีเพียงอิเล็กตรอนของไฮโดรเจนที่เรียงตามขวางเท่านั้นที่จะปล่อยโฟตอนออกมา

         สาเหตุที่การหมุนของไฮโดรเจน  มีสถานะพลังงานต่างกันสองสถานะ   เป็นเพราะ ไฮโดรเจนมี 2 "eigenstates (สถานะไอเกน)"  คือมีการหมุนของอิเล็กตรอน 2 รูปแบบที่ต่างกัน บางอะตอมของไฮโดรเจนมีการหมุนขึ้นของอิเล็กตรอน  ทำให้เกิดสถานะพลังงานสูง     บางอะตอมของไฮโดรเจนมีการหมุนลงของอิเล็กตรอน  ทำให้เกิดสถานะพลังงานต่ำ

         สถานะพลังงานสูง (ไฮโดรเจนหมุนขึ้น)  จะจัดเรียงตามขวาง  และอิเล็กตรอนปล่อยโฟตอนเมื่อความถี่เรโซแนนซ์ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอกถูกปิด

         โดยการกระตุ้นอิเล็กตรอนอื่น ๆ     โฟตอนเป็นตัวพาพลังงานที่สำคัญ  และเป็นพลังงานสำหรับการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ, เซมิคอนดักเตอร์  และต่อต้านอนุมูลอิสระ

 

โฟตอน

รังสีไบโอโฟโตนิก (Biophotonic radiation)เป็นแรงผลักดันในการรักษา และต่อต้านริ้วรอย

         เซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเปล่งแสงอยู่ตลอดเวลา    พิสูจน์แล้วในปี 1975 โดย Fritz A. Popp นักชีวฟิสิกส์ชาวเยอรมัน  และถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1922 โดย Alexander Gurwitsch      แสงนี้มีความเป็นระเบียบสูง  เช่นเดียวกับแสงของเลเซอร์       และมีความสอดคล้องกันอย่างมาก   ถือได้ว่าเป็นสนามพลังงานบูรณาการของทั้งเซลล์ และสิ่งมีชีวิต       เซลล์ที่ตายแล้วเปล่งแสงไม่ได้

         ตั้งแต่ปี 1700    แสงได้รับการพิจารณาว่า  มีลักษณะเหมือนทั้งอนุภาค และเหมือนคลื่น (particle-like and wavelike)

         นิวตันคิดว่า  แสงเป็นอนุภาคที่สั่นสะเทือน

         ในปี 1900    Max Planck ชี้ให้เห็นว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (แสง)   สามารถแผ่รังสี และถูกดูดซึมได้ในบรรจุภัณฑ์บางอย่างเท่านั้น     เขาตั้งชื่อแพ็คเกจเหล่านั้นว่า Quants

         ในปี 1905   อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  ได้พิสูจน์ทฤษฎีของ Planck  และได้รับรางวัลโนเบล :
“แสงเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค (light quants)”

         ในปี 1926   Gilbert N. Lewis ชาวอเมริกัน  ได้ตั้งชื่อแสงเหล่านั้นว่า "โฟตอน"

         Popp เรียกแสงของเซลล์ (โฟตอนของเซลล์) เราว่า  ไบโอโฟตอน       เป็นการเน้นความสำคัญในหน้าที่ทางชีววิทยาในเซลล์

 

รังสีไบโอโฟโตนิกเกิดขึ้นได้อย่างไร?

         โดยการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เป็นจังหวะเข้าไปในเนื้อเยื่อ    พลังงานเรโซแนนซ์จะดูดซับ และกระตุ้นอิเล็กตรอน       ในสถานะถูกกระตุ้น   อิเล็กตรอนของอะตอมจะกระโดดจากวงโคจรชั้นในไปยังวงโคจรชั้นนอก   เรียกว่า  การกระโดดควอนตัม (quantum jump)  เพราะวงโคจรรอบนอกมีพลังงานสูงกว่า
         เมื่อกระโดดกลับสู่วงโคจรภายในที่มีพลังงานต่ำกว่า   อิเล็กตรอนจะเปล่งแสงออกมา (โฟตอน)       ไม่ว่าพลังงานใดก็ตามที่ใช้ในการกระตุ้นอะตอมและอิเล็กตรอน   แต่จะเป็นปฏิสัมพันธ์ทางแม่เหล็กไฟฟ้าของมันเท่านั้นที่จะก่อให้เกิดแรงผลักดัน (driving force)

         ในสถานะปกติ   โมเลกุลจะมีความเสถียร  และจะไม่ทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่น      เพื่อที่จะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่น ๆ พวกมันจำเป็นต้องถูกกระตุ้นโดยโฟตอน

         รังสีไบโอโฟโตนิกมีความเป็นระเบียบสูง    เป็นไบโอเลเซอร์ (F.Popp) ที่เงียบมาก, มีความเสถียร, ไม่มีความไม่ต่อเนื่องเหมือนแสงปกติ       เลเซอร์แสดงถึงพลังสูง       โฟตอนของมันมีความสามารถในการจัดระเบียบสิ่งต่างๆโดยการกระทำพร้อมกันและร่วมกันของเหล่าโฟตอน       ผ่านความเข้มของสนามที่คงที่   จะมีผลรบกวนจากคลื่น "เลเซอร์" ของเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่แสงปกติ       การรบกวนแบบนั้นเป็นโครงสร้างที่มั่นคงมาก  และมีคุณภาพในการสร้างโครงสร้างคลื่นของร่างกาย (โครงสร้างโฮโลแกรม)    มันอธิบายถึงความเชื่อมโยงกันของอวัยวะทั้งหมดของเราตามที่รู้จักกันในการแพทย์แผนตะวันออก

         เมื่อคุณผลิตรังสีไบโอโฟโตนิกโดยการเหนี่ยวนำจากภายนอก   มันจะจางหายไปในเวลาที่ช้าเกินความเป็นจริง    นี่แสดงว่าเป็นแสงคุณภาพเลเซอร์       มันน่าสนใจตรงที่   โดยการใช้การเหนี่ยวนำ    เซลล์ยังคงปล่อยแสงที่ดูดซับออกมาเป็นเวลาหลายนาที และหลายชั่วโมง (F.Popp)

         เมื่อคุณใช้การเหนี่ยวนำโดยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะ   คุณจะสะท้อนและกระตุ้นอวัยวะและเนื้อเยื่อที่เลือก    ทั้งนี้เนื่องจากอะตอมของไฮโดรเจนแต่ละอะตอมของเนื้อเยื่อ / อวัยวะกำลังหมุนด้วยความถี่เฉพาะ (Larmor)     กล่าวอีกนัยหนึ่ง:  สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่เฉพาะเจาะจง และ “ ไม่ฉลาด”  จะสะท้อนอย่างกระกระจายกับอะตอม / โมเลกุลที่นั่นที่นี่ในร่างกาย       จะไม่มีการทำงานประสานกันกับอะตอมในเนื้อเยื่อที่ขาดแคลน, เจ็บป่วย และชราภาพ       เพื่อที่จะได้รับการตอบสนองสูงสุดในการซ่อมแซม   อะตอม (ไฮโดรเจน) ของเนื้อเยื่อชรา  จะต้องได้รับการกระตุ้นอย่างเฉพาะเจาะจงร่วมกัน

         ที่สำคัญที่สุดก็คือ :   หากคุณใช้ความถี่แม่เหล็กไฟฟ้าที่เฉพาะเจาะจงกับความถี่ในการหมุนของไฮโดรเจนของเนื้อเยื่อชรา   อะตอมและอิเล็กตรอนของมันจะถูกกระตุ้นโดยการสั่น resonance ร่วมกัน       ดังนั้น  อิเล็กตรอนจะปล่อยโฟตอนออกมาพร้อมกัน  และจะสร้างกลุ่มแสงเลเซอร์ที่เชื่อมโยงกันจำนวนมหาศาลในเซลล์       เนื่องจากโฟตอนเหล่านี้สามารถวนเวียนอยู่ระหว่างโมเลกุลโดยไม่สูญเสียพลังงานเป็นเวลานานหลายชั่วโมง   การทำงานที่ประสานกันของพวกมันทำให้เกิดการจัดระเบียบ และการซ่อมแซมเซลล์อย่างน่าประหลาดใจ

         การใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบเป็นจังหวะที่มีรูปแบบเฉพาะ  เป็นกระบวนการต่อต้านความเสื่อมชราอย่างแท้จริง  และอธิบายถึงอาการปวดที่ดีขึ้นอย่างมากในโรคกระดูกพรุน, อาการปวดที่ไม่มีข้อต่อกระดูกหัก  รวมถึงการฟื้นฟูความผิดปกติต่างๆของสุขภาพ

เชิงอรรถ:

         Bischof, Marco: Biophotonen. Das Licht in unseren Zellen, 1995, Zweitausendeins Verlag
Popp, F.A./Nagl, W./Li, K.H./Scholz, W./ Weingärtner, O./ Wolf, R.: Biophoton emission: New evidence for coherence and DNA as source (1984)