Bio-Chromium

โครเมียมยีสต์ที่ สหภาพยุโรปรับรอง สำหรับการควบคุมน้ำตาลในเลือด

  • มีโครเมียมพันธะออร์แกนิคจากโครเมียมยีสต์ ( ChromoPrecise ® )
  • ให้การดูดซึมที่สูง (High bioavailability) มากกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับโครเมียมรูปแบบ อื่นๆ
  • ช่วยควบคุมสมดุลระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ
  • มีส่วนช่วยในการเผาผลาญสารอาหารให้เป็นปกติ
  • ผลิตภายใต้การควบคุมตามมาตรฐานการผลิตยาประเทศเดนมาร์ก
  • มีเอกสารรับรองทางวิทยาศาสตร์

1 เม็ด ประกอบด้วย:   โครเมียม  100 ไมโครกรัม

 

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

ขนาดรับประทาน รับประทานวันละ 1 เม็ด หรือตามคำแนะนำของแพทย์ ควรรับประทานพร้อม หรือหลังมื้ออาหาร

ไม่ควรรับประทานเกินปริมาณที่แนะนำต่อวัน ควรกลืนทั้งเม็ด ไม่ควรเคี้ยว ไม่ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทดแทนอาหารหลัก เหมาะสำหรับผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ

การใช้ชีวิตที่เอื้อต่อสุขภาพ และการรับประทานอาหารครบหมู่นั้นสำคัญต่อการรักษาสุขภาพ

 

ส่วนประกอบ

โครเมียมยีสต์ (ChromoPrecise®), maltodextrin;

สารเติมเต็ม: microcrystalline cellulose;

สารต้านการเกาะกันเป็นก้อน:talc, silicon dioxide/silica;

สารเคลือบ: hydroxypropyl methylcellulose;

สารเพิ่มความแข็งตัว: เกลือแมกนีเซียมจากกรดไขมัน

 

 การเก็บรักษา เก็บในที่แห้ง และพ้นแสง ที่ อุณหภูมิห้อง ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก

 

ไบโอ-โครเมียม คืออะไร?

         ไบโอ-โครเมียม ใน 1 เม็ดประกอบด้วยโครเมียม จำนวน100 ไมโครกรัม    โครเมียมที่ใช้ในไบโอ-โครเมียม เป็นแบบพันธะออร์แกนิค ซึ่งมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนตามธรรมชาติโดยการสร้างของยีสต์(โครเมียมยีสต์) จึงถูกดูดซึมเข้าสู่งร่างกายได้เป็นอย่างดี สามารถดูดซึมได้มากกว่าโครเมียมรูปแบบอื่นๆที่ได้รับการรับรอง ถึง 10 เท่า

          ไบโอ-โครเมียมผลิตจากธรรมชาติในรูปแบบออร์แกนิค ที่เรียกว่า ChromoPrecise® ซึ่งเป็นโครเมียมยีสต์ที่ได้รับการพัฒนาเป็นพิเศษเพื่อให้มีประสิทธิผลในการดูดซึมอย่างสูงสุด ไบโอ-โครเมียมถูกผลิตขึ้นตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) และมาตรฐานการผลิตยาระดับสูงสุดเพื่อสร้างความมั่นใจในความเป็นเลิศทั้งด้านคุณภาพ และความปลอดภัยที่มีเอกสารยืนยันอย่างมากมาย

 

         ไบโอ-โครเมียม และยีสต์  ผลิตภัณฑ์ ChromoPrecise ไม่มีเซลล์ยีสต์ที่มีชีวิต แต่ใช้ส่วนผสมของ ผงแห้งจากยีสต์ที่อุดมด้วยโปรตีน และแร่ธาตุโครเมียม จึงไม่แนะนำให้ใช้ ChromoPrecise ในกลุ่มคนที่มีอาการแพ้ยีสต์

 

จาก GTF ถึง โครโมดูลิน

         เป็นเวลาหลายปีที่ เชื่อกันว่า โครเมียมเป็นส่วนหนึ่งของสารที่เรียกว่า GTF (สารประกอบที่ช่วยในการทำงานของอินซูลินในการควบคุมน้ำตาลในเลือด Glucose Tolerance Factor) และเชื่อกันว่าสารGTF มีโครเมียมเป็นส่วนประกอบและยังมี วิตามินบี, ไนอะซิน และกรดอะมิโน อย่างไกลซีน, ซีสเตอีน และกรดกลูตามิก ทฤษฎีของ GTF ได้รับการสนับสนุนเพียงบางส่วน และการมีอยู่จริงของโมเลกุล GTF ที่แน่ชัดในร่างกายยังไม่เคยได้รับการพิสูจน์

          อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นว่ามีโมเลกุลซึ่งมีโครเมียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย เรียกว่า โครโมดูลิน ซึ่งมีความแตกต่างจาก GTF แต่คงคุณสมบัติในแบบเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเรากล่าวถึง โครโมดูลินแทน GTF ให้เป็นที่เข้าใจว่าเป็นสารให้ประโยชน์แบบเดียวกัน

          คลังสะสมโครเมียมของร่างกาย จะมีธาตุโครเมียมอยู่ที่ประมาณ 4-6 มก. เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ความเข้มข้นของโครเมียมในเนื้อเยื่อต่างๆอาจมีการลดลงอย่างมาก การรับประทานอาหาร ของว่างที่มีรสหวาน อาจบรรเทาความรู้สึกขาดน้ำตาลได้ชั่วคราว เนื่องจากเป็นการ "เพิ่มน้ำตาลเข้าร่างกายโดยฉับพลัน" (quick "sugar fix") จึงช่วยเพิ่มพลังงานได้ทันที แต่ผลที่ได้ไม่ยั่งยืน เป็นการช่วยเพียงช่วงสั้นๆ และจะกลับมาสู่ความต้องการอาหารรสหวานเหมือนเดิม ในระยะยาวแล้วภาวะการโหยหาอาหารรสหวานหรือน้ำตาลอาจมีผลลบต่อน้ำหนักตัว แต่ผลิตภัณฑ์เช่น โครเมียม ของฟาร์มานอร์ด สามารถช่วยให้ร่างกายคุณรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ และป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์ ดังที่กล่าวถึง

         โครเมียมคืออะไร ?   โครเมียมเป็น แร่ธาตุสำคัญที่จำเป็น ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญตามปกติของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน นอกจากนี้โครเมียมยังสนับสนุนกระบวนการทางชีวภาพในส่วนของ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ

         โดยปกติโครเมียมแบบอนินทรีย์ (Inorganically bound chromium) (ซึ่งได้จากการสังเคราะห์) จะมีประสิทธิภาพการถูกดูดซึมที่น้อย ดังนั้น ผลของการรับประทานแร่ธาตุโครเมียม จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการดูดซึมของโครเมียมเข้าสู่ร่างกาย

 

โครเมียมมีหลายรูปแบบ

         โดยปกติเมื่อนึกถึงโครเมียม เรามักจะนึกถึง โลหะโครเมียมที่ชุบเครื่องสุขภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ของรถมอเตอร์ไซค์ โครเมียมในรูปแบบที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์เหล่านี้ (โครเมียมสำหรับอุตสาหกรรม) ไม่ใช่โครเมียมแบบเดียวกับที่พบ และทำงานในกระบวนการทางชีวภาพตามธรรมชาติในร่างกาย โดยร่างกายจำเป็นต้องใช้โครเมียมรูปแบบที่เรียกว่า ไตรวาเลนท์ (trivalent form) รูปแบบไตรวาเลนท์ หมายความถึง รูปแบบที่สามารถสร้างพันธะทางเคมีกับอะตอมอื่นได้สามพันธะ (โครเมี่ยมสำหรับอุตสาหกรรม เป็นรูปแบบ เฮกซะวาเลนท์ (hexavalent)-ซึ่งมีการสร้างพันธะกับอะตอมทางเคมีอื่นได้หกพันธะ)

กรดแลคติกจับกับโครเมียม

         โครเมียมแบบไตรวาเลนท์ ยังสามารถจับกับกรดแลคติก(lactic acid) หรือ แลคเทต lactateได้ ดังนั้น ร่างกายจะสูญเสียโครเมียมใน สถานการณ์ที่ร่างกายผลิตกรดแลคติกเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ภาวะที่ร่างกายทำงานอย่างหนัก ใช้พลังงานมากๆ หรือในกรณีที่การผลิตพลังงานในระดับเซลล์ไม่เพียงพอ

         จากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า โดยเฉลี่ยอาหารที่ชาว สแกนดิเนเวีย อังกฤษ และอเมริกันรับประทานกัน ได้สารโครเมียมจากอาหารประมาณ 30-40 ไมโครกรัม ต่อวัน องค์กรEFSA (the European Food Safety Authority องค์กรควบคุมความปลอดภัยของอาหารแห่งยุโรป) แนะนำให้รับประทานโครเมียม 40 ไมโครกรัมต่อวัน ในขณะที่ WHO (องค์การอนามัยโลก) พิจารณาว่าสารโครเมียม ที่ร่างกายควรได้รับสูงสุด ไม่ควรเกิน 250 ไมโครกรัม

 

อาหารชนิดใดมีโครเมียม?

         แหล่งโครเมียมธรรมชาติจากอาหารพบได้ในอาหารดังต่อไปนี้: หอย และสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก, ถั่วเปลือกแข็ง, ลูกเกด, เนื้อสัตว์, เมล็ดถั่วต่างๆ, พริกไทยดำ